วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

เรื่องที่ 20 อาหารนานาชาติ(อาหารบรูไน)

อาหารนานาชาติ 
17.อาหารบรูไน
17.1 ลักษณะอาหารบรูไน
อาหารบรูไน (มลายMasakan Brunei) มีลักษณะคล้ายกับอาหารของประเทศเพื่อนบ้านได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์[1] และอินโดนีเซีย นอกจากนั้นยังได้รับอิทธิพลเพิ่มเติมจากอินเดีย จีน ไทย และญี่ปุ่น ปลาและข้าวเป็นอาหารหลัก เนื้อวัวรับประทานน้อยเพราะมีราคาแพง เนื่องจากอิทธิพลของศาสนาอิสลาม อาหารที่รับประทานจึงเป็นอาหารฮาลาล หลีกเลี่ยงเนื้อหมู และห้ามดื่มแอลกอฮอล์ในบรูไน[1]
อาหารบรูไนมักจะมีรสเผ็ดและปกติกินกับข้าวหรือก๋วยเตี๋ยว อาหารที่เป็นที่นิยมได้แก่ เรินดังเนื้อ นาซีเลอมะก์ และปูเตอรีนานัซ[2] ของหวานที่นิยมในประเทศบรูไนคืออัมบูยัต ทำจากสาคูห่อด้วยไม้ไผ่และจิ้มซอสผลไม้รสเปรี้ยว เครื่องดื่มทั่วไป ได้แก่ น้ำผลไม้ ชาและกาแฟ อาหารจากจีนและอินเดียมีอยู๋ในบรูไนมากเช่นกัน











อ้างอิง https://th.wikipedia.org/

เรื่องที่ 19 อาหารนานาชาติ(อาหารกัมพูชา)

อาหารกัมพูชา
16.อาหารกัมพูชา
16.1 ลักษณะอาหารกัมพูชา
อาหารกัมพูชา หรือ อาหารเขมร เป็นอาหารที่บริโภคกันอย่างแพร่หลายในประเทศกัมพูชา อาหารของกัมพูชามีทั้งผลไม้ ข้าว ก๋วยเตี๋ยว เครื่องดื่ม ขนมและซุปต่าง ๆ ที่รับประทานเกือบทุกมื้อ แต่ก๋วยเตี๋ยวยังเป็นที่นิยม กับข้าวมีความหลากหลายทั้งที่เป็นแกง ซุป ทอดและผัด มีพันธุ์ข้าวจำนวนมากในประเทศกัมพูชารวมทั้งข้าวหอมและข้าวเหนียว ข้าวเหนียวนิยมรับประทานเป็นของหวานกับกับผลไม้ เช่น มะม่วง
อาหารเขมรส่วนมากมีความคล้ายคลึงกับอาหารของเพื่อนบ้านอย่างประเทศไทยแม้ว่าโดยทั่วไปจะไม่เผ็ดเท่า และเวียดนามที่มีประวัติศาสตร์ร่วมกันในการเป็นอาณานิคมฝรั่งเศสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังได้รับอิทธิพลจากอาหารจีนและฝรั่งเศสที่เคยมีอิทธิพลต่อกัมพูชาในประวัติศาสตร์ อาหารประเภทแกงหรือที่เรียกว่าการี (เขมรការី) แสดงร่องรอยของอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอาหารอินเดีย ก๋วยเตี๋ยวเส้นหลายรูปแบบแสดงอิทธิพลของอาหารจีน กะทิเป็นส่วนผสมหลักของแกงกะหรี่เขมรและของหวาน
ขนมปังฝรั่งเศสเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากยุคอาณานิคม ซึ่งชาวกัมพูชามักจะกินกับปลากระป๋องหรือไข่ กาแฟปรุงด้วยนมข้นหวาน เป็นตัวอย่างของอาหารเช้ากัมพูชาในกัมพูชาแบบหนึ่ง

ประวัติและอิทธิพล

น้ำ ข้าว และปลาน้ำจืดเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลมากต่ออาหารกัมพูชา แม่น้ำโขงไหลผ่านใจกลางประเทศกัมพูชา เมืองหลวงของประเทศคือพนมเปญตั้งอยู่ระหว่างจุดตัดของแม่น้ำโขงกับแม่น้ำโตนเลสาบและแม่น้ำบาสัก ทำให้กัมพูชามีปลาน้ำจืดอุดมสมบูรณ์ และเหมาะสมต่อการปลูกข้าว ในปัจจุบันอาหารกัมพูชามีความใกล้เคียงกับอาหารของประเทศเพื่อนบ้านคืออาหารไทยในด้านการใช้พริก น้ำตาลหรือกะทิ และอาหารเวียดนามในด้านที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารฝรั่งเศสเช่นกัน และยังได้รับอิทธิพลจากอาหารจีนอีกด้วย โดยเฉพาะอาหารจำพวกที่ใช้เส้นก๋วยเตี๋ยว อาหารจำพวกแกงที่ในภาษาเขมรเรียกว่า การี (ការី) แสดงถึงอิทธิพลของอาหารอินเดีย และยังมีอิทธิพลบางส่วนจากอาหารโปรตุเกสและอาหารสเปน ซึ่งเป็นผลจากการติดต่อค้าขาย อย่างไรก็ตามอาหารกัมพูชาไม่ได้มีรสจัดเท่าอาหารไทย อาหารลาว และอาหารมาเลเซีย
อิทธิพลจากอาหารฝรั่งเศสที่สำคัญคือบาแกตที่เรียกนมปังในภาษาเขมร ชาวกัมพูชากินนมปังกับปลาซาร์ดีนหรือไข่ หรือกาแฟใส่นม อาจจะนำบาแกตไปทำแซนด์วิชซึ่งเรียกว่าปาเต โดยจะใส่ผักและเนื้อสัตว์จำพวกหมูยอ แฮม หรือเนื้อย่าง แล้วปิดท้ายด้วยการราดซอสพริก
คล้ายกับอาหารเวียดนามที่เรียกบัญหมี่ นอกจากนั้น ฝรั่งเศสยังได้นำเบียร์ เนย กาแฟ ช็อกโกแลต หัวหอม แครอท บร็อกโคลี มันฝรั่งและอื่น ๆ เข้ามาเป็นส่วนประกอบในอาหารกัมพูชา อนึ่งบาแกตแบบกัมพูชามักมีขนาดสั้นและอวบกว่าแบบฝรั่งเศสดั่งเดิม
โดยปกติ อาหารกัมพูชาในแต่ละมื้อจะมี 3-4 อย่าง โดยทั่งไปประกอบด้วยซุปหรือสัมลอร์กินคู่กับอาหารจานหลักที่มีรสชาติได้ทั้ง หวาน เปรียว เค็ม ขม จัดพริกแห้ง พริกสด พริกดอง พริกแห้งมาพร้อมกับอาหาร เพื่อปรุงแต่งรสตามชอบ

อ้างอิงhttps://th.wikipedia.org/

เรื่องที่ 18 อาหารนานาชาติ(อาหารมาเลเซีย)

อาหารนานาชาติ
15.อาหารมาเลเซีย
15.1ลักษณะอาหารมาเลเซีย
อาหารมาเลเซีย เป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากหลายวัฒนธรรมทั่วโลก อิทธิพลหลักมาจากชาวมลายู ชาวจีน และชาวอินเดีย นอกจากนั้นยังได้รับอิทธิพลจากชาวเปอรานากันและยูเรเซีย ชาวโอรังอัสลี และชนเผ่าต่าง ๆ ในซาราวักและซาบะฮ์ อาหารมาเลเซียจึงมีความหลากหลายมากโดยรวมทั้งการปรุงอาหารของมลายู จีน อินเดีย อินโดนีเซียโดยเฉพาะในเกาะบอร์เนียว และได้รับอิทธิพลในส่วนน้อยมาจากไทย โปรตุเกส อังกฤษ อาหรับ ทำให้อาหารมาเลเซียมีความหลากหลายทั้งรสชาติ วิธีการ และมีความซับซ้อนมาก

อาหารหลัก

ข้าวเป็นอาหารหลักที่สำคัญในมาเลเซีย อาหารจากข้าวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือ นาซิเลอมัก ซึ่งเป็นข้าวที่หุงด้วยกะทิ กินกับปลา ถั่วลิสง แตงกวาหั่น ไข่ต้มและซัมบัล นาซีเลอมะก์รับประทานกับอาหารได้หลายชนิดรวมทั้งเรินดัง นาซีเลอมะก์ถือเป็นอาหารประจำชาติของมาเลเซีย อาหารมาเลเซียที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารอินเดียจะใช้ซัมบัลที่มีรสค่อนข้างเผ็ด ส่วนซัมบัลที่ใส่ในนาซีเลอมะก์จะมีรสหวานเล็กน้อย นาซีเลอมะก์นั้นมักจะสับสนกับนาซีดากังที่เป็นที่นิยมทางชายฝั่งตะวันออกของมาเลเซียในบริเวณกลันตันและตรังกานู




อ้างอิง https://th.wikipedia.org/

เรื่องที่ 17 อาหารนานาชาติ(อาหารเมียนมาร์)

อาหารนานาชาติ
14.อาหารเมียนมาร์
14.1ลักษณะอาหารเมียนมาร์
อาหารพม่า  เป็นอาหารของทั้งชาวพม่าและชนกลุ่มน้อยในประเทศพม่า มีส่วนประกอบเป็นปลาหลายชนิด เช่น น้ำปลาและงะปิหรือกะปิ อาหารพม่าบางส่วนได้รับอิทธิพลจากอาหารจีน อาหารอินเดีย และอาหารไทย โหมะน์ฮี่นก้าเป็นอาหารประจำชาติของพม่า อาหารทะเลเป็นที่นิยมตามแนวชายฝั่งเช่น ซิตเว เจาะพยู เมาะลำเลิง มะริด และทวาย ส่วนเนื้อสัตว์และสัตว์ปีกเป็นอาหารสำคัญทางตอนบนของประเทศ เช่น มัณฑะเลย์ ปลาและกุ้งน้ำจืดเป็นที่นิยมทั้งในรูปรับประทานสดหรือทำเค็ม ตากแห้ง หมักให้เปรี้ยว หรือบดเป็นกะปิ
อาหารพม่ามีหลายรูปแบบเช่น ยำหรือสลัด อาหารจำพวกแป้งเป็นข้าว และเส้นหมี่จากข้าว ขนมจีน เครื่องปรุงนอกจากนั้นมีมันฝรั่ง ขิง มะเขือเทศ ใบมะกรูด ถั่วฝักยาว ใบเมี่ยงหรือละแพะ และงะปิ ยำมักรับประทานเป็นอาหารจานด่วนในพม่า
14.2 วัฒนธรรมการกิน
ชาวพม่านิยมรับประทานอาหารแบบล้อมวง โดยใช้โต๊ะขนาดเล็กหรือบนเสื่อไม้ไผ่ อาหารหนึ่งมื้อประกอบด้วยข้าว แกงปลาน้ำจืด ปลาเค็มหรือปลาแห้ง แกงเนื้อหรือสัตว์ปีก ซุปใสหรือซุปเปรี้ยว จะตักอาหารให้ผู้สูงอายุในวงก่อน ปกติรับประทานด้วยตะเกียบโดยได้รับอิทธิพลจากประเทศจีน ซึ่งชาวพม่านิยมใช้ตะเกียบมาก ตะเกียบที่ชาวพม่าใช้จะเรียกว่า ตู (တူ) ใช้สำหรับรับประทานอาหารปกติและอาหารประเภทเส้น หรือไม่ก็จะใช้ช้อน ส้อมเพื่อความสะดวกรวดเร็ว และรับประทานด้วยมือสำหรับผลไม้และผัก ส่วนเครื่องดื่มที่นิยมเป็นชาทั้งแบบร้อนและเย็น
อาหารชีนส่วนใหญ่เป็นข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง นิยมปรุงด้วยการต้มมากกว่าการทอด


อ้างอิง https://th.wikipedia.org/

วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2563

เรื่องที่ 16 อาหารนานาชาติ (อาหารอิหร่าน)

อาหารนานาชาติ
13.อาหารอิหร่าน
13.1 ลักษณะอาหารอิหร่าน


ในตำนานเรื่องเล่าของอิหร่านมีการกล่าวกันว่า สไตล์และปรุงอาหารของอิหร่านได้เริ่มขึ้นในรัชสมัยของกษัตริย์ ฎอฮาก (Zahhak). ก่อนหน้านั้นปิศาจ (demon) มีความคุ้นเคยกับศิลปะอันนี้ โดยสามารถปรุงอาหารที่อร่อยได้หลากหลายรสชาติ ไม่ว่าจะเป็นซุปต่างๆ ขนมต่างๆ .จากงานเขียนในยุคสมัยพะลาวีย์ในหนังสือ คุซรู วา รีดค์ ได้อธิบายถึงอาหาร และวิธีการปรุงอาหารในยุคสมัยของจักรวรรดิแซสซานิดเอาไว้ ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกถึงประวัติความเป็นมาของการประกอบอาหารในอิหร่านได้เป็นอย่างดี. ชื่อของอาหารอิหร่าน (เปอร์เซีย) จำนวนมาก ถูกใช้เรียกจนติดปากในภาษาอาหรับ ซึ่งสามารถพบเจอได้ในตำราอาหารภาษาอาหรับ. ในภาษาอาหรับมีหนังสือมากมายที่ถูกเขียนขึ้นเกี่ยวกับการประกอบอาหาร ซึ่งต่างมีความเกี่ยวเนื่องกับการประกอบอาหารของชาวอิหร่านอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นชื่อที่ใช้เรียก หรือคำต่างๆ ของทั้งสองชาติที่มีความคล้ายคลึงกัน. สิ่งเหล่านั้อาจเนื่องมาจากที่คนอิหร่านจำนวนมากในยุครัชสมัยแห่งคะลีฟะฮ์อับบาซีย์ได้เข้ามาช่วยบริหารกิจการบ้านเมือง และได้นำเอาวิถีชีวิตของพวกเขา (อาหารการกิน) มาเผยแพร่ในสังคมอาหรับ, ตัวอย่างที่เด่นชัดคือ วิธีการประกอบอาหารอิหร่านในช่วงสมัยอับบาซีย์ที่ได้รับความสนใจอย่างมากมายนั้นเอง. ในฉบับภาษาเปอร์เซีย มีหนังสือที่เฉพาะ เกี่ยวกับการประกอบอาหารอยู่ ๔ เล่ม ดังนี้
กอรนอเมะ ดาร บาเบ ตะบอคีย์ วะ ศันอัตเตออน , โดย ฮัจญีย์ มุฮัมหมัด อะลี บุลูรจีย์ บักดาดี ในรัชสมัย ชาฮ์ อิสมาอีล

มาดดะตุลหะยาต , โดย นูรุลลอฮ์ ออชพัซ ในรัชสมัย ชาฮ์ อับบาส

นุสเคะฮ์ ชาฮ์ ยะฮานีย์ , หนังสือเล่มนี้ได้ถูกเขียนขึ้นในรัชสมัยกษัตริย์ ชาฮ์ ยะฮานี (๑๐๖๘ - ๑๐๒๘) บรมกษัตริย์แห่งมงโกล

กอรเนเมะฮ์ , โดย นอเดร มีรซา ผู้เขียนหนังสือ ตอรีค ตับรีซ ในรัชสมัยกาจาร.

ความหลากหลายของอิหร่านอาหาร

อาหารทั้งหลายจะถูกแบ่งเป็นประเภทต่างๆ โดยขึ้นอยู่กับคุณสมบัติและเอกลักษณ์ที่เฉพาะ เช่นประเภทของอาหาร , วิธีการผลิตและการปรุงแต่ง , ความหลากหลายของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต หรือแม้กระทั่งความแตกต่างทางภูมิศาสตร์ สิ่งเหล่านี้คือตัวแสดงถึงอัตลักษณ์และประเภท ที่ทำให้ถูกรู้จักได้เป็นอย่างดี. หนึ่งในอาหารที่ขึ้นชื่อที่สุดของอิหร่านคือ ออบกุช (Abgoosht) , กุรเมะฮ์ ซับซีย์ (Ghormeh sabzi) และเคบาบอิหร่าน.
อาหารอิหร่านกับเทคนิคการทำอาหารอื่น ๆ

การประกอบอาหารของอิหร่านมีวิธีการที่คล้ายคลึงกับของประเทศเพื่อนบ้านอย่างเช่น อัฟกานิสถาน ,ทาจิกิสถาน , อาเซอร์ไบจาน , อาร์เมเนีย , อิรัก และตุรกี.
อาหารเช้าของชาวอิหร่าน

อาหารเช้า 

ถือเป็นอาหารหลักของวัฒนธรรมอิหร่าน. อะดะซีย์ , หะลีม และกัลเละพอเชะฮ์ คืออาหารมื้อเช้าที่เฉพาะและมีความสำคัญเป็นที่สุด ซึ่งมีผู้คนให้ความสนใจในการเลือกรับประทานเป็นจำนวนมาก และโดยเฉพาะวันหยุด ชาวอิหร่านจะเลือกอาหารประเภทนี้มารับประทานกัน. โดยประกอบจากวัตถุดิบ เช่น ธัญพืช (ข้าวสาลี) , ถั่ว , สัตว์เนื้อขาว (White meat) (มีในฮะลีม โดยส่วนมากจะใช้เนื้อไก่งวง) และน้ำมันพืช. โดยส่วนมาก ฮะลีม จะรับประทานในช่วงหน้าหนาว.

อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/

เรื่องที่ 15 อาหารนานาชาติ (อาหารเยอรมัน)

อาหารนานาชาติ
12.อาหารเยอรมัน
12.1 ลักษณะอาหารเยอรมัน
อาหารการกินของชาวเยอรมันจะต่างกันไปตามภูมิภาค แคว้นทางใต้ เช่น บาวาเรีย (Bavaria) อาหารจะคล้ายกับประเทศเพื่อนบ้านทางตอนใต้ คือ สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรีย ส่วนทางตะวันตกจะกรุ่นไปด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรมฝรั่งเศส ในขณะที่อาหารทางตะวันออกจะใกล้เคียงกับอาหารทางยุโรปตะวันออก และอาหารบริเวณชายฝั่งทางตอนเหนือจะใกล้เคียงกับอาหารแถบสแกนดิเนเวีย ตามปกติแล้ว อาหารมื้อหลักของวันคือมื้อกลางวัน ส่วนอาหารมื้อเย็นจะเป็นมื้อเล็ก เช่น แซนด์วิชชิ้นเล็ก ๆ อย่างไรก็ดี ด้วยสภาพการทำงานที่เปลี่ยนไป ชาวเยอรมันปัจจุบันบางส่วนจึงหันมาทานอาหารมื้อเย็นเป็นมื้อหลัก

ลักษณะการกิน

ตามปกติแล้ว อาหารมื้อหลักของวันคือมื้อกลางวัน ส่วนอาหารมื้อเย็นจะเป็นมื้อเล็ก เช่น แซนด์วิชชิ้นเล็ก ๆ อย่างไรก็ดี ด้วยสภาพการทำงานที่เปลี่ยนไป ชาวเยอรมันปัจจุบันบางส่วนจึงหันมาทานอาหารมื้อเย็นเป็นมื้อหลัก

อาหารเช้า (Frühstück) ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยขนมปัง เช่น ขนมปังปิ้ง ขนมปังก้อน ทาด้วยแยมหรือน้ำผึ้ง ไข่ กาแฟ (ส่วนเด็ก ๆ จะดื่มโกโก้ร้อน) อาหารจำพวกเนื้อ เช่น แฮมหรือซาลามี ชีสชนิดต่าง ๆ เครื่องทาขนมปังหลายประเภท เช่น ตับบด รวมไปถึงซีเรียลและมูสลี
เนื้อ

เนื้อหมู เนื้อวัว และเนื้อสัตว์ปีก เป็นเนื้อที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศเยอรมนี โดยเนื้อหมูเป็นที่ชื่นชอบมากที่สุด ส่วนในบรรดาเนื้อสัตว์ปีก เนื้อไก่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป แต่เนื้อเป็ด ห่าน และไก่งวง ก็มีให้เห็นเช่นกัน ส่วนเนื้อม้าถือเป็นอาหารจานพิเศษในบางเขตของประเทศเท่านั้น แต่ส่วนใหญ่จะไม่เป็นที่นิยมนัก

ชาวเยอรมันบริโภคเนื้อในรูปของไส้กรอกมากที่สุด ไส้กรอกของประเทศเยอรมนีประเทศเดียวมีถึง 1,500 ชนิด
ปลา

คนเยอรมันส่วนน้อยรับประทานปลา ปลาเทราต์เป็นปลาน้ำจืดที่พบได้บ่อยในเมนูร้านอาหารเยอรมัน การบริโภคอาหารทะเลนั้นมีแต่ในเขตทางตอนเหนือติดชายฝั่งของประเทศเยอรมนีเท่านั้น ยกเว้นปลาเฮร์ริงดองที่พบได้ทั่วไป ปัจจุบันปลาชนิดต่าง ๆ เช่น ปลาเฮร์ริง ปลาซาร์ดีน ปลาทูนา ปลาแมกเคอเรล และปลาแซลมอน มีผู้บริโภคทั่วประเทศ อาหารทะเลประเภทอื่นไม่ค่อยได้รับความนิยมนัก ยกเว้นหอยหรือกุ้งจากทะเลเหนือ ซึ่งมีราคาสูงมากเมื่อเทียบกับกุ้งที่นำเข้าจากต่างประเทศ
ผัก

อาหารจานผักมักจะอยู่ในรูปของสตูว์หรือซุปผักหลากชนิด นอกจากนั้นผักยังสามารถนำมาประกอบเป็นอาหารเครื่องเคียง ผักที่พบได้ทั่วไป เช่น แครอต ผักโขม ถั่ว และผักกาดชนิดต่าง ๆ ส่วนหัวหอมทอด ก็ถูกนำมาเป็นเครื่องเคียงของอาหารจานเนื้อหลายเมนู แม้ว่าอาหารในแถบบาวาเรียจะไม่ได้เป็นลักษณะนี้ก็ตาม ชาวเยอรมันจะไม่ถือว่ามันฝรั่งเป็นผัก ส่วนหน่อไม้ โดยเฉพาะหน่อไม้สีขาวนั้น เป็นที่ชื่นชอบของชาวเยอรมัน ทั้งที่เป็นเครื่องเคียงหรืออาหารจานหลัก ภัตตาคารบางแห่งจะไม่นำผักชนิดอื่นมาประกอบอาหารเลยยกเว้นหน่อไม้
เครื่องเคียง

เส้นหมี่ของชาวเยอรมัน จะแตกต่างจากพาสตาของชาวอิตาลี และมักจะมีส่วนผสมของไข่แดง โดยเฉพาะเส้นหมี่ที่พบทางตอนใต้ของประเทศที่เรียกว่า Spätzle มีส่วนผสมของไข่แดงในปริมาณมาก อย่างไรก็ดี เมื่อไม่นานมานี้ พาสตาแบบอิตาลีมีบทบาทมากขึ้น แม้แต่การผลิต Spätzle เองก็มักจะไม่มีส่วนผสมของไข่แดงเหมือนแต่ก่อนแล้ว นอกจากเส้นหมี่แล้ว มันฝรั่งและแป้งต้ม (Klöße หรือ Knödel) ยังเป็นที่นิยมกันมาก โดยเฉพาะทางตอนใต้ของประเทศ มันฝรั่งเริ่มมีอิทธิพลต่อการรับประทานของชาวเยอรมันในช่วงปลายศตวรรษที่ 18
เครื่องดื่ม

เบียร์เป็นเครื่องดื่มที่พบได้ทั่วประเทศ ชนิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือเบียร์พีลส์ (Pils) จากสาธารณรัฐเช็ก ในขณะที่ชาวเยอรมันทางตอนใต้ (โดยเฉพาะในรัฐบาวาเรีย) จะนิยมชนิดลาเกอร์มากกว่า
เครื่องปรุง

มัสตาร์ดเป็นเครื่องเคียงที่พบบ่อยที่สุดเวลาชาวเยอรมันทานไส้กรอก มัสตาร์ดทางตอนใต้จะมีรสชาติหวานทานคู่กับไส้กรอกที่เป็นอาหารประจำแคว้นบาวาเรีย เช่น ไส้กรอกสีขาว (Weisswurst) ชาวเยอรมันมองกระเทียมว่าเป็น "สารก่อกลิ่นเหม็น" จึงไม่ค่อยมีบทบาทมากเท่าไรกับอาหารเยอรมัน แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผู้คนหันมาทานกระเทียมกันมากขึ้น สืบเนื่องจากอิทธิพลของอาหารฝรั่งเศสและอิตาลี

หากไม่นับมัสตาร์ดที่ทานคู่กับไส้กรอกแล้ว เราไม่ค่อยพบอาหารเยอรมันที่มีรสชาติเผ็ดร้อนสักเท่าไร สมุนไพรคู่ครัวชาวเยอรมันประกอบไปด้วย ผักชีฝรั่ง ใบไทม์ ใบลอเรล ต้นหอม แต่ที่นิยมมากที่สุดคือพริกไทย (ใช้ในปริมาณน้อย) จูนิเปอร์เบอร์รี และคาราเวย์ รวมไปถึงมินต์ เซจ ออริกาโน และพริก
ขนมหวาน

ประเทศเยอรมนีมีเค้กและพายหลายชนิด ส่วนมากมีส่วนประกอบของผลไม้สด เช่น แอปเปิล พลัม สตรอเบอร์รี และเชอร์รี ชีสเค้กเป็นขนมชนิดหนึ่งที่นิยมกันมาก ส่วนขนมโดนัทแบบเยอรมันนั้น จะมีลักษณะกลมและมีแยมหรือไส้ชนิดอื่นสอดอยู่ข้างใน ที่เรารู้จักกันดีว่า แบร์ลิเนอร์ (Berliner)

ไอศกรีมและซอร์เบตก็เป็นที่ชื่นชอบเช่นกัน ร้านไอศกรีมอิตาลีที่เห็นกันกลาดเกลื่อนทุกวันนี้เริ่มบุกเยอรมนีตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1920
ขนมปัง

ว่ากันว่าประเทศเยอรมนีนั้นมีขนมปังกว่า 1,000 ชนิด

อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/

เร่องที่ 14 อาหารนานาชาติ (อาหารออสเตรเลีย)

อาหารนานาชาติ
11.อาหารออสเตรเลีย
11.1 ลักษณะของอาหารออสเตรเลีย

อาหารพื้นเมือง

อาหารพื้นเมือง หรือที่เรียกกันว่า อาหารป่า (Bush Food) เป็นอาหารหลักของชนพื้นเมืองออสเตรเลีย ก่อนที่ชาวยุโรปจะเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่นี่ในปี ค.ศ.1788 และเริ่มเอาอาหารยุโรปเข้ามาเผยแพร่ สมัยก่อนชนพื้นเมืองออสเตรเลียดำรงชีพด้วยการกินลูกเบอรี่ และผลไม้ต่างๆ จากธรรมชาติ ส่วนโปรตีนก็ได้มาจากจิงโจ้และนกอีมู ทุกวันนี้อาหารพื้นเมืองเหล่านี้หากินยากขึ้นมาก หากอยากลองชิมต้องไปตามร้านที่ขายอาหารพวกนี้โดยเฉพาะ ซึ่งมีอยู่ในบางพื้นที่เท่านั้น

อาหารปัจจุบัน

อาหารที่ชาวออสซี่นิยมกินกันทั่วไปในปัจจุบัน ได้รับอิทธิพลมาจากอาหารยุโรปค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอาหารจากประเทศอังกฤษ อย่างเช่น อาหารปิ้งย่างสำหรับดินเนอร์ และฟิชแอนด์ชิพส์ ก็ถือว่าเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศออสเตรเลีย

เนื่องจากสภาพอากาศที่อบอุ่นออสเตรเลียจึงโชคดี เพราะมีวัตถุดิบสดใหม่และหลากหลายให้เลือกนำมาปรุงอาหารได้ตลอดทั้งปี รัฐบาลออสเตรเลียจึงพยายามสนับสนุนให้ประชาชน กินอาหารที่ปรุงจากวัตถุดิบสดใหม่ เน้นอาหารเพื่อสุขภาพ ไขมันต่ำ และไม่ใส่เกลือเยอะเกินไป เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงปราศจากโรคภัย

อย่างที่เราทราบกันดีว่า ประเทศออสเตรเลียเต็มไปด้วยผู้คนจากหลากหลายประเทศทั่วทุกมุมโลก จึงทำให้ดินแดนแห่งนี้มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก และอาหารการกินก็มีความหลากหลายมากเช่นกัน อาหารจากนานาชาติอย่าง ไทย จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม รวมไปถึงฝรั่งเศส อิตาลี กรีซ และอังกฤษ ล้วนแล้วแต่ได้รับความนิยมในหมู่ชาวออสซี่

การกินอาหารกลางแจ้ง

ออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีอากาศดีเกือบตลอดทั้งปี ชาวออสซี่จึงนิยมกินอาหารกลางแจ้งกันเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปิ้งย่างบาร์บีคิวกลางแจ้งในช่วงเดือนที่อากาศอบอุ่น ซึ่งแตกต่างจากบาร์บีคิวที่เสียบไม้ขายตามรถเข็นในไทยอยู่หลายขุม บาร์บีคิวของคนที่นี่จะจริงจังกว่าและประกอบไปด้วยวัตถุดิบหลายชนิด ตั้งแต่เนื้อหมูส่วนต่างๆ ไปจนถึงอาหารทะเลนานาชนิด รวมถึงเบอร์เกอร์ ไส้กรอก เคบับ และยังเสริมวิตามินด้วยผักย่าง หรือ สลัดผักต่างๆ เพื่อสุขภาพที่ดีอีกด้วย

อาหารทะเล

นอกจากออสเตรเลียจะเป็นประเทศที่มีอากาศดีแล้ว ออสเตรเลียยังเป็นเกาะที่ล้อมรอบไปด้วยน้ำ ดินแดนแห่งนี้จึงอุดมสมบูรณ์ไปด้วยอาหารทะเลนานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นปลาทูน่า ปลาแซลมอน ล็อปสเตอร์ ปูทะเล และกุ้งทะเลชั้นดี ซึ่งมีทั้งรสชาติอร่อยและเป็นอาหารไขมันต่ำที่ดีต่อสุขภาพ ในประเทศออสเตรเลียมีสัตว์น้ำต่างๆ มากถึง 6,000 ชนิด ที่ถูกจับมาเป็นอาหารและวางขายอยู่ทั่วไปในท้องตลาด คุณจึงเลือกกินได้ไม่มีเบื่อเลยทีเดียว

เครื่องดื่ม

ประเทศออสเตรเลียมีการผลิตไวน์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ ชาวออสซี่ส่งออกไวน์มากเป็นอันดับ 4 ของโลก ลองจากอิตาลี สเปน และฝรั่งเศส อุตสาหกรรมไวน์ทำเงินให้กับประเทศออสเตรเลียถึงปีละ 5.5 ล้านดอลล่าร์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเช่นเบียร์ ก็ได้รับความนิยมมากเช่นกัน โดยได้รับความนิยมมาตั้งแต่สมัยอาณานิคม ที่เจ้าอาณานิคมเอาเหล้ารัมเข้ามาเผยแพร่ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ชอบการสังสรรค์และดื่มแอลกอฮอล์บ้างเล็กน้อย ออสเตรเลียก็น่าจะเป็นประเทศที่เหมาะกับคุณไม่น้อย

นอกจากมีชื่อเสียงโด่งดังเรื่องไวน์และเบียร์แล้ว ออสเตรเลียยังมีชื่อเสียงในด้านอุตสาหกรรมกาแฟอีกด้วย กาแฟยี่ห้อ Vittoria ของออสเตรเลียเป็นที่นิยมและได้รับการยอมรับจากคอกาแฟว่ามีรสชาติดีทีเดียว หากคุณมีโอกาสได้มาออสเตรเลีย เราขอแนะนำให้ลองชิม ‘flat white’ กาแฟลาเต้แบบไร้ฟองนม ที่ชาวออสเตรเลียคิดค้นขึ้น

ของหวาน


ชาวออสซี่มีขนมหวานหลายชนิดที่มีชื่อเสียงโด่งดัง อย่างเช่นขนม Pavlova ที่ถูกคิดค้นขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1935 โดย Bert Sachse และตั้งชื่อขนมตามนักบัลเล่ต์ชาวรัสเซียที่ชื่อ Anna Pavlova โดยเปรียบเทียบเมอแรงค์ที่อยู่ในขนมกับท่วงท่าในการเต้นบัลเล่ต์ว่ามีความพริ้วไหวบางเบาเหมือนกัน Pavlova มีฐานเป็นเมอแรงค์ ตกแต่งด้านบนด้วยครีมและผลไม้ โดยจะใช้สตรอเบอร์รี่หรือราสเบอร์รี่ในการตกแต่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน นอกจากนี้ก็ยังมีขนมหวานอย่าง Melba toast และ Peach Melba ที่ได้รับความนิยม และมีที่มาของชื่อจาก Dame Nellie Melba นักแสดงชื่อดังชาวออสซี่

วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2563

เรื่องที่ 13 อาหารนานาชาติ (อาหารลาว)

อาหารนานาชาติ
10.อาหารลาว
10.1ลักษณะของอาหารลาว
อาหารลาว เป็น อาหารของประเทศลาวและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งแตกต่างจากอาหารเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่น ๆ อาหารลาวมีอิทธิพลแก่อาหารในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเป็นอย่างมาก และอิทธิพลของอาหารลาวก็แผ่ไปถึงประเทศกัมพูชา และภาคเหนือของไทย ( ล้านนา ) อาหารหลักของลาวได้แก่ข้าวเหนียว ซึ่งจะรับประทานด้วยมือในความเป็นจริงชาวลาวจะรับประทานข้าวเหนียวมากกว่ากลุ่มใด ๆ ในโลก[1] ข้าวเหนียวถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่หมายถึงการเป็น ชาวลาว ชาวลาวหลายคนมักเรียกตนเองว่าลูกข้าวเหนียว ซึงแปลว่า เด็ก หรือ ลูกหลานของข้าวเหนียว ข่า,ตะไคร้ และ ปลาแดก(ปลาร้าในชื่อไทย) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในอาหารลาว
อาหารลาวที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ ลาบ (ลาว : ລາບ; อังกฤษ:laap) โดยนำเนื้อสัตว์ที่ยังดิบผสมคลุกเข้ากับเครื่องเทศ และอาหารหลักของลาวอีกอย่างคือ ตำหมากหุ่ง (ลาว: ຕໍາໝາກຫຸ່ງ; อังกฤษ:Tam mak Hoong) โดยนำมะละกอ (ลาว:ໝາກຫຸ່ງ;หมากหุ่ง ) มาตำลงพร้อมพริก กระเทียม มะเขือเทศ มะนาว และอื่น ๆ ตำหมากหุ่ง หรือชื่อเรียกที่เป็นที่รู้จักกันมากคือ ส้มตำ[
อาหารลาวจะมีความแตกต่างกันไปตามภูมิภาคต่าง ๆ และยังคงมีอิทธิพลของอาหารฝรั่งเศสซึ่งเคยเป็นเจ้าอาณานิคมหลงเหลืออยู่และยังเป็นที่นิยมในลาว โดยเฉพาะข้าวจี่ปาเต้ หรือข้าวจี่ลาวที่นำขนมปังฝรั่งเศสมายัดไส้ต่างๆ เช่น หมูยอ หมูหยอง แจ่วบอง ผักสด ซึ่งก็แตกต่างกันไปตามภูมิภาค ข้าวจี่ปาเต้นี้ยังเป็นที่นิยมในประเทศแถบอินโดจีนอย่างเวียดนามและกัมพูชาอีกด้วย



อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/