วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

เรื่องที่ 20 อาหารนานาชาติ(อาหารบรูไน)

อาหารนานาชาติ 
17.อาหารบรูไน
17.1 ลักษณะอาหารบรูไน
อาหารบรูไน (มลายMasakan Brunei) มีลักษณะคล้ายกับอาหารของประเทศเพื่อนบ้านได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์[1] และอินโดนีเซีย นอกจากนั้นยังได้รับอิทธิพลเพิ่มเติมจากอินเดีย จีน ไทย และญี่ปุ่น ปลาและข้าวเป็นอาหารหลัก เนื้อวัวรับประทานน้อยเพราะมีราคาแพง เนื่องจากอิทธิพลของศาสนาอิสลาม อาหารที่รับประทานจึงเป็นอาหารฮาลาล หลีกเลี่ยงเนื้อหมู และห้ามดื่มแอลกอฮอล์ในบรูไน[1]
อาหารบรูไนมักจะมีรสเผ็ดและปกติกินกับข้าวหรือก๋วยเตี๋ยว อาหารที่เป็นที่นิยมได้แก่ เรินดังเนื้อ นาซีเลอมะก์ และปูเตอรีนานัซ[2] ของหวานที่นิยมในประเทศบรูไนคืออัมบูยัต ทำจากสาคูห่อด้วยไม้ไผ่และจิ้มซอสผลไม้รสเปรี้ยว เครื่องดื่มทั่วไป ได้แก่ น้ำผลไม้ ชาและกาแฟ อาหารจากจีนและอินเดียมีอยู๋ในบรูไนมากเช่นกัน











อ้างอิง https://th.wikipedia.org/

เรื่องที่ 19 อาหารนานาชาติ(อาหารกัมพูชา)

อาหารกัมพูชา
16.อาหารกัมพูชา
16.1 ลักษณะอาหารกัมพูชา
อาหารกัมพูชา หรือ อาหารเขมร เป็นอาหารที่บริโภคกันอย่างแพร่หลายในประเทศกัมพูชา อาหารของกัมพูชามีทั้งผลไม้ ข้าว ก๋วยเตี๋ยว เครื่องดื่ม ขนมและซุปต่าง ๆ ที่รับประทานเกือบทุกมื้อ แต่ก๋วยเตี๋ยวยังเป็นที่นิยม กับข้าวมีความหลากหลายทั้งที่เป็นแกง ซุป ทอดและผัด มีพันธุ์ข้าวจำนวนมากในประเทศกัมพูชารวมทั้งข้าวหอมและข้าวเหนียว ข้าวเหนียวนิยมรับประทานเป็นของหวานกับกับผลไม้ เช่น มะม่วง
อาหารเขมรส่วนมากมีความคล้ายคลึงกับอาหารของเพื่อนบ้านอย่างประเทศไทยแม้ว่าโดยทั่วไปจะไม่เผ็ดเท่า และเวียดนามที่มีประวัติศาสตร์ร่วมกันในการเป็นอาณานิคมฝรั่งเศสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังได้รับอิทธิพลจากอาหารจีนและฝรั่งเศสที่เคยมีอิทธิพลต่อกัมพูชาในประวัติศาสตร์ อาหารประเภทแกงหรือที่เรียกว่าการี (เขมรការី) แสดงร่องรอยของอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอาหารอินเดีย ก๋วยเตี๋ยวเส้นหลายรูปแบบแสดงอิทธิพลของอาหารจีน กะทิเป็นส่วนผสมหลักของแกงกะหรี่เขมรและของหวาน
ขนมปังฝรั่งเศสเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากยุคอาณานิคม ซึ่งชาวกัมพูชามักจะกินกับปลากระป๋องหรือไข่ กาแฟปรุงด้วยนมข้นหวาน เป็นตัวอย่างของอาหารเช้ากัมพูชาในกัมพูชาแบบหนึ่ง

ประวัติและอิทธิพล

น้ำ ข้าว และปลาน้ำจืดเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลมากต่ออาหารกัมพูชา แม่น้ำโขงไหลผ่านใจกลางประเทศกัมพูชา เมืองหลวงของประเทศคือพนมเปญตั้งอยู่ระหว่างจุดตัดของแม่น้ำโขงกับแม่น้ำโตนเลสาบและแม่น้ำบาสัก ทำให้กัมพูชามีปลาน้ำจืดอุดมสมบูรณ์ และเหมาะสมต่อการปลูกข้าว ในปัจจุบันอาหารกัมพูชามีความใกล้เคียงกับอาหารของประเทศเพื่อนบ้านคืออาหารไทยในด้านการใช้พริก น้ำตาลหรือกะทิ และอาหารเวียดนามในด้านที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารฝรั่งเศสเช่นกัน และยังได้รับอิทธิพลจากอาหารจีนอีกด้วย โดยเฉพาะอาหารจำพวกที่ใช้เส้นก๋วยเตี๋ยว อาหารจำพวกแกงที่ในภาษาเขมรเรียกว่า การี (ការី) แสดงถึงอิทธิพลของอาหารอินเดีย และยังมีอิทธิพลบางส่วนจากอาหารโปรตุเกสและอาหารสเปน ซึ่งเป็นผลจากการติดต่อค้าขาย อย่างไรก็ตามอาหารกัมพูชาไม่ได้มีรสจัดเท่าอาหารไทย อาหารลาว และอาหารมาเลเซีย
อิทธิพลจากอาหารฝรั่งเศสที่สำคัญคือบาแกตที่เรียกนมปังในภาษาเขมร ชาวกัมพูชากินนมปังกับปลาซาร์ดีนหรือไข่ หรือกาแฟใส่นม อาจจะนำบาแกตไปทำแซนด์วิชซึ่งเรียกว่าปาเต โดยจะใส่ผักและเนื้อสัตว์จำพวกหมูยอ แฮม หรือเนื้อย่าง แล้วปิดท้ายด้วยการราดซอสพริก
คล้ายกับอาหารเวียดนามที่เรียกบัญหมี่ นอกจากนั้น ฝรั่งเศสยังได้นำเบียร์ เนย กาแฟ ช็อกโกแลต หัวหอม แครอท บร็อกโคลี มันฝรั่งและอื่น ๆ เข้ามาเป็นส่วนประกอบในอาหารกัมพูชา อนึ่งบาแกตแบบกัมพูชามักมีขนาดสั้นและอวบกว่าแบบฝรั่งเศสดั่งเดิม
โดยปกติ อาหารกัมพูชาในแต่ละมื้อจะมี 3-4 อย่าง โดยทั่งไปประกอบด้วยซุปหรือสัมลอร์กินคู่กับอาหารจานหลักที่มีรสชาติได้ทั้ง หวาน เปรียว เค็ม ขม จัดพริกแห้ง พริกสด พริกดอง พริกแห้งมาพร้อมกับอาหาร เพื่อปรุงแต่งรสตามชอบ

อ้างอิงhttps://th.wikipedia.org/

เรื่องที่ 18 อาหารนานาชาติ(อาหารมาเลเซีย)

อาหารนานาชาติ
15.อาหารมาเลเซีย
15.1ลักษณะอาหารมาเลเซีย
อาหารมาเลเซีย เป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากหลายวัฒนธรรมทั่วโลก อิทธิพลหลักมาจากชาวมลายู ชาวจีน และชาวอินเดีย นอกจากนั้นยังได้รับอิทธิพลจากชาวเปอรานากันและยูเรเซีย ชาวโอรังอัสลี และชนเผ่าต่าง ๆ ในซาราวักและซาบะฮ์ อาหารมาเลเซียจึงมีความหลากหลายมากโดยรวมทั้งการปรุงอาหารของมลายู จีน อินเดีย อินโดนีเซียโดยเฉพาะในเกาะบอร์เนียว และได้รับอิทธิพลในส่วนน้อยมาจากไทย โปรตุเกส อังกฤษ อาหรับ ทำให้อาหารมาเลเซียมีความหลากหลายทั้งรสชาติ วิธีการ และมีความซับซ้อนมาก

อาหารหลัก

ข้าวเป็นอาหารหลักที่สำคัญในมาเลเซีย อาหารจากข้าวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือ นาซิเลอมัก ซึ่งเป็นข้าวที่หุงด้วยกะทิ กินกับปลา ถั่วลิสง แตงกวาหั่น ไข่ต้มและซัมบัล นาซีเลอมะก์รับประทานกับอาหารได้หลายชนิดรวมทั้งเรินดัง นาซีเลอมะก์ถือเป็นอาหารประจำชาติของมาเลเซีย อาหารมาเลเซียที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารอินเดียจะใช้ซัมบัลที่มีรสค่อนข้างเผ็ด ส่วนซัมบัลที่ใส่ในนาซีเลอมะก์จะมีรสหวานเล็กน้อย นาซีเลอมะก์นั้นมักจะสับสนกับนาซีดากังที่เป็นที่นิยมทางชายฝั่งตะวันออกของมาเลเซียในบริเวณกลันตันและตรังกานู




อ้างอิง https://th.wikipedia.org/

เรื่องที่ 17 อาหารนานาชาติ(อาหารเมียนมาร์)

อาหารนานาชาติ
14.อาหารเมียนมาร์
14.1ลักษณะอาหารเมียนมาร์
อาหารพม่า  เป็นอาหารของทั้งชาวพม่าและชนกลุ่มน้อยในประเทศพม่า มีส่วนประกอบเป็นปลาหลายชนิด เช่น น้ำปลาและงะปิหรือกะปิ อาหารพม่าบางส่วนได้รับอิทธิพลจากอาหารจีน อาหารอินเดีย และอาหารไทย โหมะน์ฮี่นก้าเป็นอาหารประจำชาติของพม่า อาหารทะเลเป็นที่นิยมตามแนวชายฝั่งเช่น ซิตเว เจาะพยู เมาะลำเลิง มะริด และทวาย ส่วนเนื้อสัตว์และสัตว์ปีกเป็นอาหารสำคัญทางตอนบนของประเทศ เช่น มัณฑะเลย์ ปลาและกุ้งน้ำจืดเป็นที่นิยมทั้งในรูปรับประทานสดหรือทำเค็ม ตากแห้ง หมักให้เปรี้ยว หรือบดเป็นกะปิ
อาหารพม่ามีหลายรูปแบบเช่น ยำหรือสลัด อาหารจำพวกแป้งเป็นข้าว และเส้นหมี่จากข้าว ขนมจีน เครื่องปรุงนอกจากนั้นมีมันฝรั่ง ขิง มะเขือเทศ ใบมะกรูด ถั่วฝักยาว ใบเมี่ยงหรือละแพะ และงะปิ ยำมักรับประทานเป็นอาหารจานด่วนในพม่า
14.2 วัฒนธรรมการกิน
ชาวพม่านิยมรับประทานอาหารแบบล้อมวง โดยใช้โต๊ะขนาดเล็กหรือบนเสื่อไม้ไผ่ อาหารหนึ่งมื้อประกอบด้วยข้าว แกงปลาน้ำจืด ปลาเค็มหรือปลาแห้ง แกงเนื้อหรือสัตว์ปีก ซุปใสหรือซุปเปรี้ยว จะตักอาหารให้ผู้สูงอายุในวงก่อน ปกติรับประทานด้วยตะเกียบโดยได้รับอิทธิพลจากประเทศจีน ซึ่งชาวพม่านิยมใช้ตะเกียบมาก ตะเกียบที่ชาวพม่าใช้จะเรียกว่า ตู (တူ) ใช้สำหรับรับประทานอาหารปกติและอาหารประเภทเส้น หรือไม่ก็จะใช้ช้อน ส้อมเพื่อความสะดวกรวดเร็ว และรับประทานด้วยมือสำหรับผลไม้และผัก ส่วนเครื่องดื่มที่นิยมเป็นชาทั้งแบบร้อนและเย็น
อาหารชีนส่วนใหญ่เป็นข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง นิยมปรุงด้วยการต้มมากกว่าการทอด


อ้างอิง https://th.wikipedia.org/