วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2562

เรื่องที่ 5 อาหารนานาชาติ (อาหารอิตาลี)

อาหารนานาชาติ
3.อาหารอิตาลี
3.1ลักษณะของอาหารอิตาลี
อาหารอิตาลี เป็นอาหารประจำชาติของประเทศอิตาลี แบ่งตามประเภทของอาหารในแต่ละมื้อได้ดังนี้
  • อาหารว่างและของกินเล่นระหว่างมื้อ ที่เป็นที่รู้จักดีคือพิซซา โดยพิซซาในอิตาลีจะเป็นแผ่นแป้งอบทาซอสมะเขือเทศ แต่งหน้าด้วยเนื้อสัตว์ มะเขือเทศ หรือเห็ด เน้นที่ชีสยืดเหนียวด้านบน
  • อาหารเรียกน้ำย่อยหรืออันตีปัสโต (Antipasto) ถ้าเป็นเมืองตามชายฝั่งทะเลจะเน้นอาหารทะเลสด ส่วนทางตอนในจะเป็นไส้กรอกหรือแฮม กินกับผักสดและผักชุบแป้งทอด มิฉะนั้นจะเป็นขนมปังกระเทียมหรือซุปต่าง ๆ นอกจากนั้น อาหารเรียกน้ำย่อยยังรวมไปถึงพาสตานานาชนิดและข้าวแบบอิตาลีที่เรียกว่ารีซอตโต
  • อาหารจานหลัก ส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อสัตว์ล้วนที่ปรุงด้วยวิธีการต่าง ๆ กินคู่กับผักและมันฝรั่ง ถ้าเป็นเมืองชายฝั่งทะเลจะเน้นเนื้อปลา ถ้าเป็นทางตอนเหนือจะเน้นเนื้อวัวและเนื้อแกะ
  • ของหวาน ของหวานที่พบบ่อย ได้แก่ ไอศกรีมที่กินกับผลไม้สด ปันนาค็อตตา และซาบาโยเน

ตัวอย่างอาหารอิลาลี

1. Pizza Napoletana ต้นตำรับเนเปิล

พิซซ่า เมนูที่ใครๆก็ร้องอ๋อ! นี่คืออาหารอิตาเลี่ยนที่อร่อยถูกปากคนไทย แถมเมนูนี้เป็นอาหารเก่าแก่ที่มีหลายยุคหลายสมัย นับว่าเป็นต้นตำรับอิตาเลี่ยนแท้ๆ เนื้อพิซซ่าจะมีความกรอบ ขอบแป้งจะบางมากๆ เติมความอร่อยด้วยซอนมะเขือเทศเข้มข้น และชีส ตามด้วยน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์

2. Spaghetti with tomato sauce

อีกหนึ่งเมนูอิตาเลี่ยนที่ถูกใจคนไทย และมีขายตามร้านอาหารทั่วไปในประเทศไทย ก็คือสปาเกตตีซอสมะเขือเทศ หรือที่เรียกกันอีกชื่อว่าสปาเกตตีผัดซอสแดงนั่นเอง เมนูนี้มีส่วนผสมไม่เยอะมาก หลักๆ มีเพียงเส้นสปาเกตตี ซอสมะเขือเทศ และเนื้อสัตว์เท่านั้น
แต่เราก็จะเห็นบางร้านในไส้กรอดหรือเห็ดลงไปด้วย ใครที่ไปเที่ยวอิตาลี อย่าลืมชิมสปาเกตตีซอสมะเขือเทศรสชาติแท้ๆ จะอร่อยสมกับที่ได้รับความนิยมไม่แพ้พิซซ่าหรือไม่

3. Pasta Carbonara

ใครที่ชื่อชอบคาโบนาร่าเอามากๆ ห้ามพลาดเมนูพาสต้าคาโบนาร่าเด็ดขาด เพราะที่นี่คือต้นกำเนิดของอาหารเมนูนี้ ทำให้ได้ชิมสูตรดั้งเดิมที่ใช้ชีสที่ทำจากนมแกะ ซึ่งจะมีรสชาติเข้มข้นและกลิ่นแรงกว่าที่บ้านเรา ส่วนจะอร่อยถูกปากหรือไม่ ต้องพิสูจน์!

4. Lasagna

มีพิซซ่าอิตาเลี่ยน จะไม่มีพาสต้าได้อย่างไร มาต่อกันที่เมนูที่มีชื่อว่า Lasagna เมนูนี้เป็นพาสต้าสูตรดั้งเดิม สไตล์อิตาลีแท้ๆ ซึ่งเป็นอาหารอิตาเลี่ยนที่ใครๆ ก็ทำได้ง่ายๆ เพียงนำเนื้อ พาสต้าชีส และซอสมะเขือเทศมาวางสลับกันเป็นชั้นๆ จากนั้นเอาไปเข้าเตาอบ เท่านี้เมนู Lasagna ก็หอมอร่อบจนดังไปทั่วโลก

5. Bruschetta

พักเมนูหนักๆ มาดูอาหารจานรองกันต่อ กับเมนู Bruschetta ซึ่งเป็นขนมปังแผ่นบางถูกราดด้วยท้อปปิงที่เลือกได้หลายรสชาติตามใจชอบ ที่สำคัญมีส่วนผสมของมะเขือเทศ ใบโหระพา กระเทียมสด และเห็ด สมกับเป็นอาหารอิตาเลี่ยน เนื่องจากขาดซอสมะเขือเทศไม่ได้ มากกว่านี้ขนมปังเมนูนี้เป็นอาหารจานโปรดของคนที่นี่อีกด้วย

6. Ossobuco alla Milanese

มาต่อกันที่เมนูของสายเนื้อ เมนูนี้เป็นสเต๊กเนื้อ มีกิมมิคที่ไวน์ขาว น้ำซุป และผัก มีมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 หลายคนอาจไม่คุ้นชื่อเมนูนี้สักเท่าไหร่ก็เพราะเมนูนี้ไม่ได้รับความนิยมมากนัก แต่อย่างไรก็ตาม เมนูนี้กลับกลายเป็นเมนูอาหารชื่อดังประจำเมืองมิลาน

7. Pasta primavera

สำหรับคนที่ทานมังสวิรัต สามารถหาเมนูที่ชื่อ Pasta Primavera ทานได้ เพราะเมนูนี้ถือเป็นอาหารมังสวิรัติของคนที่นี่ โดยจะเป็นพาสต้าที่เต็มไปด้วยผักนานาชนิด เพิ่มรสชาติด้วยซอสมะเขือเทศอีกเช่นเดิม

8. Panzanella สลัดขนมปัง

ยังอยู่ที่เมนูผักๆ นั่นคือสลัดขนมปัง โดยมีส่วนผสมหลักคือขนมปังและมะเขือเทศ นอกนั้นเป็นผักตามฤดูกาล ไปช่วงไหนก็ได้ทานผักช่วงนั้น นับเป็นเมนูที่ทานง่าย ได้ความเป็นอิตาเลี่ยน และสุขภาพดี

9. Gelato

นึกถึงเจลาโต้ ก็ต้องที่อิตาลีเท่านั้น ไอศกรีมเจลาโต้ชื่อดัง ถือกำเนิดขึ้นที่ประเทศอิตาลี โดยไอศกรีมเจตาโล้แท้ๆ นั่นจะต้องทำสดใหม่ทุกวัน แถมมีไขมันน้อย ใส่กลิ่นเติมสีน้อยที่สุด และเมนูนี้มีมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันนี้เป็นเมนูขนมที่มีขายทั่วโลก เป็นที่ติดใจของทั้งผู้ใหญ่และเด็กๆ โดยที่อิตาลี จะหาทานไอศกรีมเจลาโต้ได้เกือบทุกที่ เพราะมีร้านเยอะมากๆ ส่วนร้านเด็ดๆ จะอยู่ที่เมืองหลวงอย่างกรุงโรม

10. Tiramisu

ตบท้ายด้วยของหวานอย่างทิรามิสุ ที่มีหน้าตาต่างจากขนมทิรามิสุในบ้านเราสักเล็กน้อย โดยทิรามิสุของที่อิตาลีจะเป็นขนมปังบิสกิตนุ่ม ถูกนำไปชุบเอสเปรสโซ่หรือโกโก้จากนั้นนำไปชุบครีมชีสอีกต่อหนึ่ง ทำให้เมนูขนมหวานเมนูนี้มีความนุ่มหอมหวาน ได้รสสัมผัสที่คนสายหวานน่าจะฟินไม่น้อย

อ้างอิง
https://th.wikipedia.อาหารอิตาลี

เรื่องที่ 4 อาหารนานาชาติ (อาหารสเปน)

อาหารนานาชาติ

2.อาหารสเปน

2.1 ลักษณะของอาหารสเปน
อาหารสเปนประกอบด้วยอาหารหลายประเภท ซึ่งเป็นผลมาจากความแตกต่างทางด้านภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม และภูมิอากาศ เช่น อาหารทะเลก็หาได้จากพื้นน้ำที่ล้อมรอบประเทศอยู่นั้น และเนื่องจากประเทศสเปนมีประวัติความเป็นมายาวนานรวมทั้งวัฒนธรรมที่แตกต่างกันซึ่งทยอยเข้ามามีอิทธิพลในดินแดนนี้ อาหารสเปนจึงมีความหลากหลายอย่างยิ่ง แต่เครื่องปรุงและส่วนผสมต่าง ๆ เหล่านั้นก็ได้ประกอบกันขึ้นเป็นอาหารประจำชาติที่มีความเป็นเอกลักษณ์ พร้อมทั้งตำรับการประกอบอาหารและรสชาตินับพัน อิทธิพลส่วนมากในอาหารสเปนมาจากวัฒนธรรมยิวและมัวร์ พวกมัวร์เป็นชาวมุสลิมจากแอฟริกาซึ่งเคยมีอำนาจปกครองสเปนอยู่หลายศตวรรษ และอาหารของพวกมัวร์ก็ยังคงมีรับประทานกันอยู่จนทุกวันนี้
ตัวอย่างอาหารสเปนที่มีชื่อเสียง เช่น
อาร์โรซเนโกร (Arroz Negro) ข้าวผัดอาหารทะเล ปรุงด้วยหมึกดำจากปลาหมึก
โกซีโด (Cocido) สตูว์เนื้อและถั่วหลากชนิด
โชรีโซ (Chorizo) ไส้กรอกรสจัด
ชูเลตียัส (Chuletillas) เนื้อแกะ (ที่เลี้ยงด้วยนม) ย่าง
กัซปาโช (Gazpacho) ซุปเย็น ประกอบด้วยขนมปังและมะเขือเทศเป็นหลัก
ฟาบาดาอัสตูเรียนา (Fabada Asturiana) สตูว์ถั่ว
คามองเซร์ราโน (Jamón serrano) แฮมหมักบ่มเป็นปี
ปาเอยา (Paella) ข้าวผัดเนื้อหรืออาหารทะเลใส่หญ้าฝรั่นและน้ำมันมะกอก มีหลายประเภท
เปสไกย์โตฟรีโต (Pescaito Frito) เนื้อปลาหมักและนวดแล้วนำไปทอด เป็นอาหารจากเมืองมาลากาและภาคตะวันตกของแคว้นอันดาลูเซีย
ตอร์ตียาเดปาตาตัส (Tortilla de patatas) หรือ ตอร์ตียาเอสปาโญลา (tortilla española) ไข่เจียวใส่มันฝรั่งและหัวหอม
ตูร์รอง (Turrón) ขนมหวานมีอัลมอนด์และน้ำผึ้งเป็นส่วนประกอบ รับประทานเฉพาะในวันคริสต์มาส
กาลามารี (Calamari) ปลาหมึกทอด
ฟีเดวา (Fideuà) บะหมี่จากเมืองบาเลนเซีย
รีโอคา (Rioja) ไวน์จากแคว้นลารีโอคา

ซังกรีอา (Sangría) ไวน์พันช์


















อ้างอิงhttps://sites.google.com/site/atcharaphitsaphan/xahar-chaw-spen 

วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2562

เรื่องที่ 3 อาหารนานาชาติ (อาหารไทย)

อาหารนานาชาติ
1.อาหารไทย
เป็นอาหารประจำของประเทศไทยที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของไทย อาหารที่ขึ้นชื่อที่สุดของคนไทย คือ น้ำพริกปลาทู พร้อมกับเครื่องเคียงที่จัดมาเป็นชุด
1.1 ลักษณะของอาหารไทย
รสชาติของอาหารไทย
รสเค็ม
อาหารไทยได้รสเค็มจากน้ำปลาเส่วนใหญ่ การประกอบอาหารไทยเกือบทุกชนิด ถ้าต้องการรสเค็มป็นแล้ว
จะขาดน้ำปลาไม่ได้เลย สังเกตจากเวลารับประทานอาหาร จะต้องมีถ้วยน้ำปลาเล็ก ๆ รวมอยู่ในสำรับอาหาร
แต่บางครั้งนอกจากน้ำปลาแล้วยังใช้เกลือหรือซีอิ๊วขาวเป็นตัวปรุงรสอาหารให้เกิดความเค็ม
รสหวาน
การประกอบอาหารไทยรสหวาน โดยทั่วไปในอาหารไทยใช้น้ำตาลทรายในการประกอบอาหารแล้ว ยังมี
น้ำตาลอีกหลายชนิด เช่น น้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลทรายแดง น้ำตาลโตนด น้ำตาลงบ ฯลฯ
รสเปรี้ยว
อาหารไทยนอกจากจะได้จากน้ำส้มสายชู แล้วยังมีมะนาว และที่นำมาใช้ประกอบอาหารกันมาก โดยที่
ประเทศอื่น ๆ ไม่มีใช้ก็คือ ความเปรี้ยวที่ได้จากน้ำส้มมะขามเปียก น้ำมะกรูด น้ำส้มซ่า นอกจากนั้นรสเปรี้ยวจาก
ใบมะขามอ่อน ใบมะดัน ใบส้มป่อย มะดัน ซึ่งรสเปรี้ยวจากสิ่งเหล่านี้มีแต่ในอาหารไทย
รสเผ็ด
รสชาติอาหารของประเทศใดก็ไม่เผ็ดร้อนเหมือนอาหารไทย รสเผ็ดที่ได้จากอาหาร มาจากพริกขี้หนู
พริกชี้ฟ้าสด เรายังนำมาตากแห้งเป็นพริกแห้ง คั่วแล้วป่นเป็นพริกป่น รสเผ็ดเป็นรสที่อาหารไทยจะขาดไม่ได้
ในการประกอบอาหารคาวชนิดที่ต้องมีรสเผ็ด การจะใส่พริกมากน้อยขึ้นอยู่กับความต้องการรส
ของผู้บริโภค
รสมัน
อาหารไทย ได้รสมันจากกะทิและน้ำมันเป็นส่วนใหญ่ ในการประกอบอาหารไทยโดยเฉพาะอาหารประเภท
แกงกับขนมไทย ความมันที่ได้จะมาจากแกงที่ใส่กะทิ เช่นแกงหมูเทโพ แกงเขียวหวาน ขนมชั้น ตะโก้ ฯลฯ ฉะนั้น
1.2 จุดเด่นของอาหารไทย

คนไทยบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก โดยนิยมกัน 2 ชนิดคือ ข้าวเหนียวและข้าวเจ้า คนไทยภาคอีสานและภาคเหนือนิยมกินข้าวเหนียวเป็นหลัก ส่วนคนไทยภาคกลางและภาคใต้นิยมกินข้าวเจ้าเป็นหลัก ประเทศไทยที่ผูกพันกับสายน้ำเป็นหลัก ทำให้อาหารประจำครัวไทยประกอบด้วยปลาเป็นหลัก ทั้ง ปลาย่าง ปลาปิ้ง จิ้มน้ำพริก กินกับผักสดที่หาได้ตามหนองน้ำ ชายป่า หากกินปลาไม่หมดก็สามารถนำมาแปรรูปให้เก็บไว้ได้นาน ๆ ไม่ว่าจะเป็นปลาแห้ง ปลาเค็ม ปลาร้า ปลาเจ่า อาหารรสเผ็ดที่ได้จากพริกนั้น ไทยได้รับนำมาเป็นเครื่องปรุงมาจากบาทหลวงชาวโปรตุเกส ในสมัยพระนารายณ์ ส่วนอาหารประเภทผัดไฟแรง ได้รับมาจากชาวจีนที่อพยพมาอยู่ในเมืองไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อมีการเลี้ยงสัตว์ขายเป็นอาชีพและมีโรงฆ่าสัตว์ ทำให้มีการหาเนื้อสัตว์มารับประทานมากขึ้น มีการใช้เครื่องเทศหลากชนิดเพื่อช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อที่นำมาปรุงเป็นอาหาร เครื่องเทศที่คนไทยนิยมนำมาปรุงอาหารประเภทนี้เช่น ขิง กระชาย ที่ดับกลิ่นคาวปลามานาน ก็นำมาประยุกต์กับเนื้อสัตว์ประเภทวัว ควาย เป็นสูตรใหม่ของคนไทย
1.3 อาหารไทยภาคต่างๆ

อาหารพื้นบ้านภาคเหนือ

ภาคเหนือรวม 17 จังหวัดประกอบด้วยภูมินิเวศน์ที่หลากหลายพร้อมด้วยชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่ตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ราบลุ่ม ที่ดอน และที่ภูเขาสูงในการดำรงชีพ การตั้งถิ่นฐานของชาวไทยพื้นราบซึ่งเป็นชาติพันธุ์ส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ที่พื้นที่ลุ่มบริเวณแม่น้ำสายใหญ่ เช่น ปิง วัง ยม น่าน
ของลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบน และ อิง ลาว ของลุ่มน้ำโขง มีวิถีชีวิตผูกพันกับวัฒนธรรมการปลูกข้าวโดยชาวไทยพื้นราบภาคเหนือตอนบน 9 จังหวัด (เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน พะเยา อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน) มีวัฒนธรรมการผลิตและการบริโภคข้าวเหนียวเป็นหลัก
อาหารของคนเหนือจะมีความงดงาม เพราะด้วยนิสัยคนเหนือจะมีกริยาที่แช่มช้อย จึงส่งผลต่ออาหาร โดยมากมักจะเป็นผัก

อาหารภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีหลากหลายชาติพันธุ์ เนื่องจากภาคอีสานมีพื้นที่ใหญ่สุดของประเทศ ผู้คนมีวิถีชีวิตผูกติดกับทรัพยากรธรรมชาติที่แตกต่างหลากหลาย ทั้งในเขตที่ราบ ในแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร อาศัยลำน้ำสำคัญยังชีพ เช่น ชี มูล สงคราม โขง คาน เลย หมัน พอง พรม ก่ำ เหือง พระเพลิง ลำตะคอง ลำเชียงไกร เซิน ปาว ยัง คันฉู อูน เชิงไกร ปลายมาศ โดมใหญ่ โดมน้อย น้ำเสียว เซบาย มูลน้อย เป็นต้น และชุมชนที่อาศัยในเขตภูเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทือกเขาภูพานและเทือกเขาเพชรบูรณ์ ซึ่งความแตกต่างของทรัพยากรธรรมชาติมาก ทำให้ระบบอาหารและรูปแบบการจัดการอาหารของชุมชนแตกต่างกันและมีจำนวนหลากหลายกว่าภูมิภาคอื่น แต่เดิมในช่วงที่ทรัพยากรธรรมชาติยังอุดมสมบูรณ์ อาหารจากธรรมชาติมีความหลากหลายและอุดมสมบูรณ์มาก ชาวบ้านนิยมหาอาหารจากแหล่งอาหารธรรมชาติเท่าที่จำเป็นที่จะบริโภคในแต่ละวัน เช่น การหาปลาจากแม่น้ำไม่จำเป็นต้องจับปลามาขังทรมานไว้ หากวันใดจับได้มากก็นำมาแปรรูปเป็นปาแดกหรือปลาร้า ปลาแห้ง ปลาเค็ม น้ำปลา (น้ำที่เกิดจากหน้าของปาแดก) ไว้บริโภค เนื่องจากภาคอีสานมีแหล่งเกลือธรรมชาติเป็นของตนเอง ส่งผลให้ชาวบ้านพึ่งพาอาหารจากตลาดน้อย ชาวบ้านจะปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก สวนหลังบ้านมีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นแหล่งอาหารประจำครัวเรือน ชาวบ้านมีฐานคิดสำคัญเกี่ยวกับการผลิตอาหาร คือ ผลิตให้เพียงพอต่อการบริโภค มีเหลือแบ่งปันให้ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้านและทำบุญในศาสนา
อาหารอีสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับอาหารของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และบริเวณอีสานใต้มีลักษณะอาหารร่วมกันกับราชอาณาจักรกัมพูชา เนื่องจากภาคอีสานทั้ง ๒ ส่วนเป็นกลุ่มเครือข่ายชาติพันธุ์เดียวกันกับทั้ง ๒ ประเทศ ชาวอีสานรับประทานทั้งข้าวเหนียวและข้าวจ้าว ข้าวเหนียวเป็นอาหารหลักของประชากรส่วนใหญ่ ส่วนชาวอีสานใต้นั้นรับประทานข้าวเจ้าเป็นอาหารหลัก อาหารอีสานมีหลากหลายรสชาติทั้งเผ็ดจัด เช่น แจ่วหมากเผ็ด ตำหมากหุ่ง เผ็ดน้อย เช่น แกงหอย เค็มมาก เช่น ปาแดก แจ่วบอง เค็มน้อย เช่น แกงเห็ด หวานมาก เช่น หลนหมากนัด หวานน้อย เช่น อ่อมเนื้อ เปรี้ยวมาก เช่น ต้มส้ม เปรี้ยวน้อย เช่น ลาบเนื้อ จืด และขม เช่น แกงขี้เหล็ก แจ่วเพี้ย บางชนิดมีการผสมรสชาดทั้งเผ็ดเค็มเปรี้ยวหวานเข้าด้วยกัน เช่น หลนปาแดก ตำหมากหุ่ง ตำซั่ว อาหารอีสานมีกรรมวิธีการปรุงและการทำหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ ก้อย แกง กวน เข้าปุ้น เข้าแผะ คั่ว แจ่ว จุ จ้ำ จี่ จ่าม ซอย แซ่ ซ่า ซุบ ซาว ซกเล็ก ดอง ดาง ดาด ต้ม ตำ ตาก ทอด เหนี่ยน นึ่ง น้ำตก ปิ่น ปิ้ง ผัด เฝอ เพี้ย พัน หมก เมี่ยง หมี่ หม่ำ หมัก มูน หม้อน้อย ยำ ย่าง ห่อ ลาบ หลาม ลวน ลวก เลือดแปง ส้ม ไส้กอก อุ เอาะ อ่อม อบ ฮม และมีทั้งประเภทที่ชาวอีสานคิดค้นขึ้นเองกับประเภทที่รับอิทธิพลจากภายนอกทั้งตะวันตกและเอเชีย เช่น ลาว เวียดนาม กัมพูชา จีน ฝรั่งเศส อังกฤษ ภาคเหนือของไทยและภาคกลางของไทย ส่วนเครื่องแก้ม (แนม) อาหารจำพวกผักนั้นชาวอีสานนิยมทั้งผักสด ผักต้ม ผักลวก ผักแห้ง ผักดอง รวมถึงผลไม้บางประเภทก็สามารถนำมาแกล้มได้ อย่างไรก็ตาม อาหารอีสานได้ขยายอิทธิพลต่อภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศจนได้รับความนิยมอย่างมาก อาทิ ตำหมากหุ่งหรือส้มหมากหุ่ง (ส้มตำ) น้ำตก ลาบ ก้อย อ่อม (แกงอ่อม) คอหมูย่าง ปิ้งไก่ (ไก่ย่าง) แกงหน่อไม้ ซุบหน่อไม้ เสือร้องไห้ ซิ้นแห้ง (เนื้อแดดเดียว) ต้มแซบ ไส้กรอกอีสาน ตับหวาน ลวกจิ้มแจ่ว ปาแดกบอง (น้ำพริกปลาร้า) ตับหวาน เขียบหมู (แคบหมู) เข้าปุ้น (ขนมจีน) แจ่วฮ้อน (จิ้มจุ่ม) เป็นต้น

อาหารภาคกลาง

ลักษณะอาหารพื้นบ้านภาคกลางมีที่มาต่างกันดังนี้
  1. ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ เช่น เครื่องแกง แกงกะทิ จะมาจากชาวฮินดู การผัดโดยใช้กระทะและน้ำมันมาจากประเทศจีนหรือขนมเบื้องไทย ดัดแปลงมาจาก ขนมเบื้องญวน ขนมหวานประเภททองหยิบ ทองหยอดรับอิทธิพลจากประเทศทางตะวันตก เป็นต้น
  2. เป็นอาหารที่มักมีการประดิษฐ์ โดยเฉพาะอาหารจากในวังที่มีการคิดสร้างสรรค์อาหารให้เลิศรส วิจิตรบรรจง เช่น ขนมช่อม่วง จ่ามงกุฎ หรุ่ม ลูกชุบ กระเช้าสีดา ทองหยิบ หรืออาหารประเภทข้าวแช่ ผัก ผลไม้แกะสลัก
  3. เป็นอาหารที่มักจะมีเครื่องเคียง ของแนม เช่น น้ำพริกลงเรือ ต้องแนมด้วยหมูหวานแกงกะทิ แนมด้วยปลาเค็ม สะเดาน้ำปลาหวานก็ต้องคู่ กับกุ้งนึ่งหรือปลาดุกย่าง ปลาสลิดทอดรับประทานกับน้ำพริกมะม่วง หรือไข่เค็มที่มักจะรับประทานกับน้ำพริกลงเรือ น้ำพริกมะขามสดหรือน้ำพริกมะม่วง นอกจากนี้ยังมีของแหนมอีกหลายชนิด เช่น ผักดอง ขิงดอง หอมแดงดอง เป็นต้น
  4. เป็นภาคที่มีอาหารว่าง และขนมหวานมากมาย เช่น ข้าวเกรียบปากหม้อ กระทงทอง ค้างคาวเผือก ปั้นขลิบนึ่ง ไส้กรอกปลาแนม ข้าวตังหน้าตั้ง

อาหารภาคใต้

ภาคใต้มีภูมิประเทศเป็นทะเล ชาวใต้นิยมใช้กะปิในการประกอบอาหาร อาหารที่ปรุงในครัวเรือนก็เหมือนๆกับอาหารไทยทั่วไป แต่รสชาติจะจัดจ้านกว่า อาหารใต้ไม่ได้มีเพียงแค่ความเผ็ดจากพริกแต่ยังใช้พริกไทยเพิ่มความเผ็ดร้อนอีกด้วย และเนื่องจากภาคใต้มีชาวมุสลิมเป็นจำนวนมาก ตามจังหวัดชายแดนใต้ก็ได้มีอาหารที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างอาหารใต้ที่ขึ้นชื่อได้แก่
  1. แกงไตปลา (ไตปลา ทำจากเครื่องในปลาผ่านกรมวิธีการหมักดอง) การทำแกงไตปลานั้นจะใส่ไตปลาและเครื่องแกงพริก ใส่สมุนไพรลงไป เนื้อปลาแห้ง หน่อไม้สด บางสูตรใส่ ฟักทอง ถั่วพลู หัวมัน ฯลฯ
  2. คั่วกลิ้ง เป็นผัดเผ็ดที่ใช้เครื่องแกงพริกและสมุนไพรปรุง รสชาติเผ็ดร้อน มักจะใส่เนื้อหมูสับ หรือ ไก่สับ
  3. แกงพริก แกงเผ็ดที่ใช้เครื่องแกงพริกเป็นส่วนผสม เนื้อสัตว์ที่ใช้ปรุงคือ เนื้อหมู กระดูกหมู หรือไก่
  4. แกงป่า แกงเผ็ดที่มีลักษณะที่คล้ายแกงพริกแต่น้ำจะใสกว่า เนื้อสัตว์ที่ใช้ปรุงคือ เนื้อปลา หรือ เนื้อไก่
  5. แกงส้ม หรือแกงเหลืองในภาษากลาง แกงส้มของภาคใต้จะไม่ใส่หัวกระชาย รสชาติจะจัดจ้านกว่าแกงส้มของภาคกลาง และที่สำคัญจะต้องใส่กะปิ
  6. หมูผัดเคยเค็มสะตอ เคยเค็มคือการเอากุ้งเคยมาหมัก ไม่ใช่กะปิ
  7. ปลาต้มส้ม ไม่ใช่แกงเผ็ดแต่เป็นแกงสีเหลืองจากขมิ้น น้ำแกงมีรสชาติเปรี้ยวจากส้มควายและมะขามเปียก
อาหารขึ้นชื่อของชาวมุสลิม
  1. ข้าวยำน้ำบูดู เป็นอาหารพื้นเมืองของชาวมุสลิม ประกอบด้วยข้าวสวยใส่ผักนานาชนิดอย่างเช่น ถั่วฝักยาวซอย ดอกดาหลาซอย ถั่วงอก แตงกวาซอย ใบพลูซอย ใบมะกรูดอ่อนซอย กุ้งแห้งป่น ราดด้วยน้ำบูดู อาจจะโรยพริกป่นตามความต้องการ
  2. กือโป๊ะ เป็นข้าวเกรียบปลาที่มีถิ่นกำเนิดมาจาก 3 จังหวัดชายแดนใต้ (ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศมาเลเซีย) มีแบบกรอบซึ่งจะหั่นเป็นแผ่นบางๆแบบข้าวเกรียบทั่วไป แบบนิ่มจะมีลักษณะเป็นแท่ง เวลารับประทานจะเหนียวๆ รับประทานกับน้ำจิ้ม
  3. ไก่ย่าง ไก่ย่างของชาวมุสลิมในภาคใต้นั้น จะมีลักษณะพิเศษคือราดน้ำสีแดงลงไป น้ำสีแดงจะมีรสชาติเผ็ดนิดๆ หวาน เค็ม และกลมกล่อม สามารถหาได้ตามแผงอาหารทั่วไป ตามตลาดนัด หรือตลาดเปิดท้ายทั่วไป
  4. ไก่ทอดหาดใหญ่ จริง ๆ แล้วไก่ทอดหาดใหญ่เป็นไก่ทอดทั่วไป แต่ไก่ทอดหาดใหญ่เป็นไก่ทอดที่ขึ้นชื่อในภาคใต้















                        

วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2562

เรื่องที่ 2 ประวัติส่วนตัว

ประวัติส่วนตัว


 ชื่อ : ด.ญ.พรนภา ลาภเสนา
ชื่อเล่น : แอ๊นท์
อายุ : 15 ปี
วันเกิด : วันพฤหัสบดี ที่ 30 ธันวาคม 2547 เวลา 10.29 น.
สีที่ชอบ : สีน้ำเงิน สีเขียวอ่อน 
อาหารไทยที่ชอบ : ต้มยำกุ้ง ผัดกระเพา ไข่ตุ๋น
ขนมที่ชอบ : บราวนี่ ฝอยทอง เครปเย็น เค้กกล้วยหอม
กีฬาที่ชอบ : วอลเลย์บอล แบดมินตัน
ดอกไม้ที่ชอบ : ดอกทิวลิปสีขาว


เรื่องที่ 1 โครงงานคอมพิวเตอร์

โครงงานคอมพิวเตอร์

   โครงงานเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา

คอมพิวเตอร์ ง23102 โครงงานนี้สร้างเพื่อ

การศึกษาเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาคัดลอกเพื่อเผย

แพร่ หรือทำประโยชน์ทางธุรกิจใดๆทั้งสิ้น